|
|
|
จากการสอบถาม เดิมสภาพบ้านหางน้ำสาครเป็นป่าเป็นดง รกร้างว่างเปล่า ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย ต่อมาได้มีชาวบ้านหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อถึงฤดูแล้งได้เกิดการขาดแคลนน้ำที่จะให้สัตว์ดื่มกิน จึงไล่ต้อนฝูงสัตว์มาพักเลี้ยง อาศัยน้ำในลำแม่น้ำหางน้ำสาครตลอดฤดูแล้ง เมื่อถึงหน้าฤดูฝนจึงไล่ต้อนกลับสู่บ้านเดิม ระยะหลังต่อมาได้พิจารณาดูสถานที่ และพื้นที่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นหมู่บ้านได้ จึงได้ชักชวนกันตั้งหมู่บ้านอยู่ โดยไม่กลับไปที่บ้านหนองโพจึงเป็นที่มาของเชื้อสาย |
|
|
ของชาวบ้านหางน้ำสาครสายหนึ่ง อีกสายหนึ่งได้อพยพมาจากบ้านเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มาอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ แล้วเริ่มจับจองที่ดินเพื่อครอบครองทำมาหาเลี้ยงชีพ ด้วยการทำนาบ้าง ทำไร่บ้าง จึงได้เลือกสถานที่ตั้งหมู่บ้านขึ้นที่ลำคลองทั้ง 3 สาย ซึ่งไหลมารวมกันเป็นครั้งแรก เพราะเป็นต้นของลำแม่น้ำหางน้ำสาคร ที่เป็นลำธารไหลผ่านสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่หมู่บ้านบางไก่เถื่อน ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ต่อมาชาวบ้านหนองโพและบ้านใกล้เคียงได้อพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้น เชื้อสายคนบ้านหางน้ำสาครที่มาจากบ้านหนองโพและบ้านเขาทอง ได้มาอยู่กันตามประเพณี สืบตระกูล ประกอบอาชีพในการทำนาทำไร่จนมีความสมบูรณ์ บริบูรณ์ จนชาวต่างถิ่นก็ได้โยกย้ายเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นในเขตตำบลหางน้ำสาคร เดิมมีประชากรอยู่รวมกัน 14 หมู่บ้าน มีอาณาเขตที่ดินประมาณ 55,524 ไร่ ประชาชนทั้งหลายส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ มีความรักสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความสุขความเจริญมาจนถึงปัจจุบัน |
|
|
|
|
เทศบาลตำบลหางน้ำสาครเป็นหน่วยการปกครอง
ท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งได้รับการยกฐานะ ขึ้นจากสุขาภิบาล
เป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตาม
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล
ประกาศในราชกิจจานุ เบกษาเล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ลงวันที่
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เดิมเทศบาลตำบลหางน้ำสาคร คือ สุขาภิบาลหางน้ำสาคร จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวง มหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลหางน้ำสาครอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 110 ตอนที่ 51 เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2536 |
|
|
|
|
|
พระแม่พระธรณีบีบมวยผมปล่อยน้ำลอยบนกระแสน้ำ
ภายในวงกลมด้านบน เป็นข้อความมีความหมายว่าพระแม่ธรณี
ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์บีบน้ำออกจากมวยผม นำมาซึ่งความสุขสมบูรณ์ของชาวประชา ซึ่งพ้องกับคำว่า หาง คือ หางเปีย หรือมวยผม น้ำคือ น้ำที่บีบออกมาเพื่อให้การเกษตร และความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสุขรวมความแล้วคือ เป็นเทศบาล
ที่อุดมสมบูรณ์ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข |
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลหางน้ำสาคร ตั้งอยู่ที่ ต.หางน้ำสาคร
และบางส่วนของ ต.อู่ตะเภา ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยนาท ไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตรและห่างจาก
ตัวอำเภอมโนรมย์ไปทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรมีพื้นที่ครอบคลุมหมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 ต.หางน้ำสาคร และบางส่วนของหมู่ที่ 5 ต.อู่ตะเภา เทศบาลตำบลหางน้ำสาคร
มีเนื้อที่ 27.9225 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 17,452 ไร่ |
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
คลองบางตาลาย เขตติดต่อ ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท
ต.เขาท่าพระ อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
บ้านหัวถนน หมู่ที่ 1 ต.ไร่พัฒนา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.ธรรมามูล อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท
ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท |
|
|
คลองบางตาลาย เขตติดต่อ ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาที |
ต.ธรรมามูล อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท
ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท |
|
ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท
ต.เขาท่าพระ อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท |
บ้านหัวถนน หมู่ที่ 1 ต.ไร่พัฒนา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท |
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,060 คน แยกเป็น |
|
ชาย จำนวน 2,925 คน |
คิดเป็นร้อยละ 48.27 |
|
หญิง จำนวน 3,135 คน |
คิดเป็นร้อยละ 51.73 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,109 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 217.01 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
1 |
|
179 |
184 |
363 |
137 |
2 |
|
633 |
658 |
1,291 |
571 |
3 |
|
445 |
477 |
922 |
362 |
4 |
|
754 |
809 |
1,563 |
1,205 |
5 |
|
625 |
711 |
1,336 |
570 |
5 |
(อู่ตะเภา) |
289 |
296 |
585 |
264 |
|
|
|
|
|
|
|
รวม |
2,925 |
3,135 |
6,060 |
3,109 |
|
|